หัวเว่ยมุ่งใช้ปัญญาประดิษฐ์ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรม เสริมสร้างอนาคตที่เหนือกว่าแชทบอท
หัวเว่ย (Huawei) นำพาสร้างโอกาสใหม่ ๆ ในอุตสาหกรรมและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ขับเคลื่อนโดยกระแสปัญญาประดิษฐ์ โดยคุณจาง ผิงอัน (Zhang Ping’an) กรรมการบริหารและซีอีโอของหัวเว่ย คลาวด์ (HUAWEI CLOUD) ได้เปิดตัวผานกู่ โมเดล 3.0 (Pangu Model 3.0) และบริการคลาวด์แอสเซนด์ เอไอ (Ascend AI) ระหว่างการบรรยายหลักในงานประชุมนักพัฒนาของหัวเว่ย (Huawei’s Developer Conference) นวัตกรรมเหล่านี้มุ่งที่จะสนับสนุนลูกค้าและพันธมิตรในอุตสาหกรรม พร้อมปลดล็อกศักยภาพของปัญญาประดิษฐ์ เพื่อการเติบโตที่สร้างการเปลี่ยนแปลงในภาคส่วนต่าง ๆ
ผานกู่ โมเดล 3.0 คือระบบโมเดลที่ผ่านการฝึกมาแล้ว ซึ่งรองรับความต้องการจำเพาะสภาวการณ์และจัดการกับความท้าทายที่ซับซ้อนในหลายอุตสาหกรรมได้อย่างรวดเร็ว ผานกู่ 3.0 ใช้ประโยชน์จากชุดข้อมูลขนาดใหญ่และอัลกอริทึมการเรียนรู้ของเครื่องจักร พร้อมที่จะปฏิวัติการประยุกต์ใช้งานเอไอในเชิงอุตสาหกรรมในหลากหลายด้าน อย่างเช่น การพยากรณ์สภาพอากาศ การพัฒนายา การระบุจุดบกพร่องในรถไฟ และอุตสาหกรรมเหมือง
คุณจาง กล่าวว่า “โมเดลผานกู่ของหัวเว่ย คลาวด์ จะสนับสนุนทุกคนจากทุกอุตสาหกรรมด้วยผู้ช่วยอัจฉริยะ ทำให้มีผลิตภาพและประสิทธิภาพมากขึ้น เราจะยึดมั่นในภารกิจ “เอไอเพื่ออุตสาหกรรม” และใช้โมเดลผานกู่เปลี่ยนแปลงทุกอุตสาหกรรมด้วยเอไอ”
วารสารวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงอย่างเนเจอร์ (Nature) เพิ่งตีพิมพ์บทความอธิบายศักยภาพอันใหญ่หลวงของปัญญาประดิษฐ์ในด้านการพยากรณ์สภาพอากาศไป บทความนี้อธิบายการทำงานของทีมโมเดลปัญญาประดิษฐ์ผานกู่ เวเธอร์ (Pangu Weather Model) ของหัวเว่ย ในการพัฒนาระบบพยากรณ์สภาพอากาศปัญญาประดิษฐ์ระดับโลกที่แม่นยำและเที่ยงตรงจากการเรียนรู้เชิงลึกโดยใช้ข้อมูลระยะเวลา 43 ปี
ผานกู่ เวเธอร์ เป็นโมเดลพยากรณ์เอไอโมเดลแรกที่แสดงความแม่นยำสูงกว่าวิธีพยากรณ์อากาศเชิงตัวเลขแบบดั้งเดิม โมเดลดังกล่าวนี้ทำให้เพิ่มความเร็วในการพยากรณ์ได้ 10,000 เท่า ลดเวลาพยากรณ์สภาพอากาศระดับโลกเหลือเพียงหลักวินาที โมเดลนี้มุ่งเน้นองค์ประกอบหลักและช่วงเวลาที่สำคัญ ทำให้มีการพยากรณ์อากาศที่แม่นยำยิ่งขึ้น ที่โดดเด่นคือโมเดลนี้พยากรณ์ทางโคจรและเวลาการเคลื่อนสู่แผ่นดินของไต้ฝุ่นได้อย่างเที่ยงตรง รวมถึงไต้ฝุ่นมาวาร์เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาในปีนี้ แสดงให้เห็นสมรรถนะที่ยอดเยี่ยมของโมเดลดังกล่าว
ในวันที่ 18 กรกฎาคม หัวเว่ยและชานตง เอเนอร์จี กรุ๊ป (Shandong Energy Group) จะร่วมกันเปิดตัวการใช้งานเชิงพาณิชย์ครั้งแรกของโมเดลผานกู่ ไมนิง (Pangu Mining Model) ในเมืองจี่หนาน มณฑลชานตง ซึ่งเป็นโซลูชันที่เป็นความก้าวหน้าใหม่ซึ่งจะเพิ่มความปลอดภัย ประสิทธิภาพ และผลิตภาพ ปฏิบัติการงานเหมืองแบบดั้งเดิมนั้นมีความเสี่ยงโดยธรรมชาติอยู่แล้ว ทั้งยังใช้กำลังคนมากอีกทั้งยังมีความท้าทายสูงในด้านเทคนิคและความปลอดภัย อย่างไรก็ตาม ด้วยการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งยกระดับโดยโมเดลผานกู่ ไมนิง อุตสาหกรรมเหมืองกำลังมีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ ด้วยการนำเข้าข้อมูลปริมาณมหาศาลสำหรับการฝึกโมเดลล่วงหน้า โมเดลผานกู่ ไมนิง เอื้อให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องมีการควบคุมดูแล ครอบคลุมกว่า 300 สภาวการณ์หลักในปฏิบัติการเหมืองถ่านหิน ตั้งแต่การขุดและการเจาะทาง ไปจนถึงเครื่องจักร การคมนาคมขนส่ง และการสื่อสาร โมเดลนี้ปรับปรุงประสิทธิภาพการประยุกต์ใช้งานเอไอหลากหลายรูปแบบในเหมืองถ่านหิน
ความล้มเหลวของระบบการคมนาคมขนส่งในเหมืองถ่านหินเป็นประเด็นสำคัญ ส่งผลให้ผลผลิตถ่านหินลดลงและเกิดความสูญเสียทางการเงิน ในการจัดการกับความท้าทายนี้ โมเดลผานกู่ ไมนิง ใช้ระบบติตดามเฝ้าระวังอัจฉริยะด้วยเอไอ ซึ่งระบุข้อยกเว้นในระบบคมนาคมขนส่งได้อย่างถูกต้องแม่นยำ อย่างเช่นบล็อกถ่านหินขนาดใหญ่และสมอยึดพื้น โดยมีอัตราความเที่ยงตรงยอดเยี่ยมสูงสุด 98%
อุตสาหกรรมระบบรางได้ประโยชน์อย่างมากจากความก้าวหน้าของปัญญาประดิษฐ์ของหัวเว่ย โดยโมเดลผานกู่ เรลเวย์ (Pangu Railway Model) ยกระดับความปลอดภัยและประสิทธิภาพของรถไฟบรรทุกสินค้าให้ดีขึ้นได้อย่างมาก ซึ่งที่ผ่านมานั้นกระบวนการระบุความบกพร่องภายในระบบตรวจจับรถไฟบรรทุกสินค้า (Train Freight Detection System หรือ TFDS) ใช้แรงงานจำนวนมาก ขาดประสิทธิภาพ และมีต้นทุนสูง ในระบบรางนั้น โมเดลผานกู่ เรลเวย์ ระบุตู้รถไฟบรรทุกสินค้าได้ 67 ชนิด และระบุความบกพร่องได้กว่า 430 ประเภทที่พบในระบบรางและตู้รถไฟบรรทุกสินค้า โดยสามารถสแกนภาพหลายล้านภาพที่ถ่ายโดยระบบตรวจจับรถไฟบรรทุกสินค้าของระบบรางได้อย่างรวดเร็ว พร้อมคัดกรอง 95% ของรูปภาพที่ไม่มีความบกพร่องออกไป ช่วยให้ผู้ตรวจสอบรถไฟให้ความสนใจกับรูปภาพที่เหลือได้ ซึ่งช่วยเพิ่มทั้งประสิทธิภาพและความแม่นยำ
กรณีศึกษาเหล่านี้แสดงถึงพลังการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของเอไอในการประยุกต์ใช้งานเ