ผ่านพ้นกันไปแล้วสำหรับการประมูลคลื่นความถี่ 3 ย่านเพื่อทำ 5G ที่เกิดขึ้นเมื่อเช้าวันที่ 16 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการประมูลที่เรียกได้ว่าดุเดือดพอสมควร โดยผู้เข้ารวมประมูลทั้งหมด 5 รายประกอบไปด้วย
บริษัท ทรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (Truemove H)
บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) (TOT)
บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด (dtac)
บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) (CAT Telecom)
บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด (AWN หรือ AIS)
สร้างรายได้เข้ารัฐจากการประมูลคลื่น 700 MHz, 2600 MHz และ 26GHz ทั้งสิ้น 100,521 ล้านบาท โดย AIS กวาดไปหนัก 1310MHz คิดเป็นมูลค่าร่วม 42 พันล้านบาท ส่วน dtac มาเบาสุด น้อยกว่า CAT และ TOT เสียอีก
คลื่นความถี่ 700 MHz จำนวน 3 ใบอนุญาต ราคาเริ่มต้น 8,792 ล้านบาท มีผู้เข้าร่วม 3 รายได้แก่ AIS, Truemove H และ CAT Telecom
คลื่นความถี่ 700 MHz จำนวน 19 ใบอนุญาต ราคาเริ่มต้น 1,862 ล้านบาท มีผู้เข้าร่วม 3 รายได้แก่ AIS, Truemove H และ CAT Telecom
คลื่นความถี่ 26 GHz จำนวน 27 ใบอนุญาต ราคาเริ่มต้น 423 ล้านบาท มีผู้เข้าร่วม 4 รายได้แก่ AIS, dtac, Truemove H และ TOT
ซึ่งคลื่นความถี่ต่างๆมีผู้ประมูลเสร็จสิ้นโดยแบ่งเป็น
คลื่นความถี่ 700 MHz ซึ่งเป็นคลื่นความถี่ต่ำที่ไว้สำหรับในการทำ 5G ทำให้เกิดการสงสัญญาณได้ไกล จากผู้เข้าประมูล 3 ราย ได้แก่ AIS, Truemove H และ CAT Telecom แต่ผลสุดท้าย AIS ได้รับใบอนุญาต 1 ใบ และ CAT Telecom ได้รับใบอนุญาต 2 ใบ มูลค่า 51,460 ล้านบาท
คลื่นความถี่ 2600 MHz ซึ่งเป็นคลื่นความถี่หลักที่หลายประเทศนำมาใช้ทำ 5G เช่นเดียวกัน ผลคือ AIS ได้ใบอนุญาต ไป 10 ใบ และ Truemove H ได้ 9 ใบด้วยกัน รวมทั้งหมด 19 ใบอนุญาต มูลค่ารวมกว่า 37,434 ล้านบาทและคลื่นความถี่ 26GHz หรือคลื่นแบบ mmWave นั้นทั้งหมดที่ได้เสนอไปก็คว้ากันไปโดยดีแทคเองประกาศออกมาว่าได้ที่ช่วงความถี่กว่า 200MHz หรือ 2 ใบอนุญาต ส่วน AIS ได้มากสุดที่ 12 ใบอนุญาต รวมคลื่นกว่า 1,200 MHz ถือว่าประมูลได้เยอะที่สุดถ้ารวมกันไปแล้ว และที่เหลือเป็นของ TOT ได้ไปทั้งหมด 4 ใบ และ Truemove H ไปทั้งหมด 8 ใบด้วยกัน ทั้งหมดรวมมูลค่ากว่า 11,628 ล้านบาท ซึ่งผิดคาดจาก กสทช ที่จะมีการประมูลใบอนุญาตทั้งหมด 27 ใบอนุญาต แต่มีการประมูลกว่า 26 ใบอนุญาตเท่านั้น
ทีนี้หลายคนคงสงสัยว่า ทำไมคลื่นความถี่ 26GHz นั้นถึงมีผู้ร่วมประมูลสนใจอยากจะได้ครอบครองกันมาก เพราะในคลื่นดังกล่าว เป็นคลื่นที่มีเทคโนโลยี mmWave จุดเด่นคือ คลื่น 26 GHz หรือ mmWave เป็นคลื่นความถี่สูงที่มีคุณสมบัติพิเศษ เหมาะสำหรับการใช้งานความเร็วสูงสุดเพื่อรับส่งข้อมูล และสามารถเพิ่มความจุของช่องสัญญาณในปริมาณมหาศาลพร้อมทั้งมีความแม่นยำในการใช้งาน เพื่อรองรับนวัตกรรม 5G ต่างๆ ในอนาคตได้อย่างแท้จริง โดยสามารถนำมาพัฒนาคอนเทนท์ร่วมกับการใช้ VR หรือ AR รวมถึงออกแบบบริการ 5G เพื่อสาธารณสุขในที่ห่างไกล
อย่างไรก็ตามหลังจากการประมูลครั้งนี้ก็ทำให้รู้ว่าผู้ให้บริการก็ต่างพร้อมให้บริการเกี่ยวกับเครือข่าย 5G กันอย่างเต็มที่และคลื่นความถี่ที่ได้ก็มีการคิดพิจารณากันไปแล้ว แต่สุดท้ายการเปิดใช้งานเทคโนโลยี 5G จะเกิดขึ้นในประเทศไทยเมื่อไหร่ ต้องลุ้นกันต่อไป แต่คาดว่าน่าจะภายในปี 2563 นี้อย่างแน่นอน เมื่อทางแต่ละโอเปเรเตอร์มีความพร้อม เราผู้บริโภคก็คงคาดหวังกับเทคโนโลยีนี้ว่าจะได้ใช้ในเร็ววันครับ