สหภาพยุโรป (EU) ผ่านร่างกฎหมายกำหนดมาตรฐานอุปกรณ์การชาร์จ (universal charger) ในโทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆให้ใช้ USB-C เหมือนกัน เพื่อลดปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ แต่หากพิจารณาดูแล้วจะพบว่าข้อกฎหมายดังกล่าวอาจไม่ได้แก้ไขปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ในโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพมากนัก
เมื่อมาดูที่หัวชาร์จที่ถูกทิ้งหรือที่ไม่ได้ใช้แล้ว มีปริมาณถึง 11,000 ตันต่อปีต่อปีในยุโรป ทางสหภาพยุโรปจึงต้องการลดความต้องการอุปกรณ์การชาร์จหลากหลายประเภทเพื่อขยะอิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนั้นยังคาดการณ์ว่าผู้บริโภคจะประหยัดค่าใช้จ่ายถึง 250 ล้านยูโรต่อปี (9.2พันล้านบาท) จากการซื้ออุปกรณ์การชาร์จที่ไม่จำเป็น
อย่างไรก็ตามมาตรการข้างต้นของ EU อาจเป็นการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์เท่านั้น ไม่สามารถลดขยะอิเล็กทรอนิกส์โดยรวมได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่เกิดจากอุปกรณ์การชาร์จคิดเป็นอัตราส่วนน้อยมากจากขยะอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด
โดยแม้ว่าขยะอิเล็กทรอนิกส์จากอุปกรณ์การชาร์จทั่วโลกจะมีน้ำหนักรวมกันอยู่ที่ 54,000 ตันต่อปี แต่ก็คิดเป็นแค่ 0.1% จากขยะอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด 53.6 ล้านตันต่อปีทั่วโลก
ทั้งนี้ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการลดขยะอิเล็กทรอนิกส์คือ พฤติกรรมมนุษย์ เพราะการกำหนดมาตรฐานอุปกรณ์การชาร์จให้เป็นแบบเดียวกันนอกจากจะสนับสนุนให้ผู้ใช้งานลดการสร้างขยะอิเล็กทรอนิกส์ได้แล้ว ก็สามารถเพิ่มการสร้างขยะอิเล็กทรอนิกส์ได้
เพราะในกรณีแรกหากการกำหนดมาตรฐานอุปกรณ์การชาร์จทำให้ต้นทุนการผลิตถูกลง ก็อาจทำให้ราคาถูกลงซึ่งอาจเป็นการสนับสนุนให้ผู้ใช้งานซื้ออุปกรณ์การชาร์จมากขึ้น เพื่อความสะดวกในการใช้งาน เช่น ซื้ออุปกรณ์การชาร์จไว้ทุกห้องในบ้าน
ในกรณีที่สองการกำหนดมาตรฐานอุปกรณ์การชาร์จทำให้การรีไซเคิลทำได้ง่ายกว่า จึงอาจลดการสร้างขยะอิเล็กทรอนิกส์ได้ เพราะการเก็บวัสดุมีค่าเช่น ทองแดง ภายในอุปกรณ์การชาร์จในโรงงานรีไซเคิลสามารถทำได้ง่ายหากอุปกรณ์การชาร์จเป็นแบบเดียวกัน
นอกจากนั้นในช่วงเปลี่ยนผ่านไปสู่อุปกรณ์การชาร์จที่เป็นมาตรฐานแบบเดียวกัน ยังอาจสร้างขยะอิเล็กทรอนิกส์มากเป็นพิเศษ ก่อนที่จะสามารถลดขยะอิเล็กทรอนิกส์ได้เมื่อเวลาผ่านไป