บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมกับคณะส่วนราชการกระทรวงแรงงาน ที่ได้เน้นให้ความสำคัญต่อการพัฒนาทักษะความรู้ด้านดิจิทัล โดยต่อยอดโครงการรถดิจิทัลเพื่อสังคม (Digital Bus) ในการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลให้แก่บุคลากรแรงงานในจังหวัดเพชรบูรณ์ โดยครั้งนี้ได้มีการขยายกลุ่มเป้าหมายไปยังกลุ่มฝีมือแรงงานเพื่อเน้นมอบความรู้ เทคโนโลยี 5G และนวัตกรรมอัจฉริยะ ให้แก่ภาคแรงงานในจังหวัด เพื่อนำความรู้ด้านดิจิทัลไปต่อยอดในด้านอาชีพต่อไป เป็นการตอบโจทย์ตลาดแรงงานในอนาคต เตรียมพร้อมประเทศไทยเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล
นายอาคม คุ้มหมู่ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดเพชรบูรณ์ กล่าวถึงโครงการความร่วมมือรถดิจิทัลเพื่อสังคมในครั้งนี้ว่า “สืบเนื่องจากการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือว่าด้วยการพัฒนาฝีมือแรงงานด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ภายใต้การกำกับดูแลของ นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานระหว่างกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กับ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ที่มุ่งเน้นพัฒนาทักษะแรงงานด้านเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อสร้างแรงงานที่มีคุณภาพรองรับตลาดด้านดิจิทัลในอนาคต ซึ่งท่านอธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน นายประทีป ทรงลำยอง ได้ขานรับนโยบายดังกล่าวจึงได้มอบหมายให้สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดเพชรบูรณ์ ร่วมมือกับหัวเว่ยในการใช้รถดิจิทัลเพื่อฝึกอบรม พัฒนาความรู้ความสามารถ และทักษะฝีมือของบุคลากรในจังหวัดเพชรบูรณ์จำนวน 100 คน เตรียมตัวต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน ทั้งนี้จะเป็นการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานที่มีความรู้ความสามารถและทักษะในการปฏิบัติงานด้านดิจิทัล รองรับการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจในอนาคต และประเทศไทย 4.0”
เขาให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าในปัจจุบัน ประเทศไทยยังคงเผชิญกับความท้าทายเรื่องความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาด้านทักษะดิจิทัล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ห่างไกล ซึ่งทางจังหวัดเพชรบูรณ์จะมุ่งพัฒนาทักษะของประชาชนในพื้นที่ห่างไกลให้ได้รับความรู้อย่างเท่าเทียม ทั้งนี้ ทักษะทางด้านเทคโนโลยีคือสิ่งสำคัญที่แรงงานไทยควรเรียนรู้และนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน รวมไปถึงประยุกต์ใช้กับอาชีพของผู้เรียน เพื่อเตรียมความพร้อมกับการที่ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มตัว
โครงการฝึกอบรมรถดิจิทัลเพื่อสังคมในครั้งนี้หัวเว่ยจะนำหลักสูตรที่ครอบคลุมหัวข้อเทคโนโลยีอัจฉริยะมาฝึกอบรมให้กับแรงงาน ซึ่งมุ่งหวังว่าแรงงานในท้องที่จะสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับวิชาชีพต่างๆ ในอนาคตต่อไป
ในช่วงครึ่งปีแรกของปี พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมา หัวเว่ยได้นำร่องโครงการรถดิจิทัลไปแล้ว 6 จังหวัด โดยแรกเริ่มเป็นกลุ่มนักเรียนชั้นประถมศึกษา จำนวน 1,500 คน จากสถาบันศึกษา 14 แห่งในจังหวัดสิงห์บุรี สงขลา พระนครศรีอยุธยา ฉะเชิงเทราเชียงใหม่ และนครราชสีมา ในส่วนครึ่งปีหลัง หัวเว่ย ประเทศไทย มีแผนที่จะขยายกลุ่มเป้าหมายไปยังกลุ่มกลุ่มฝีมือแรงงานทั้งในและนอกระบบ ซึ่งจะรวมไปถึงกลุ่มอาสาสมัครต่างๆ ผ่านความร่วมมือกับกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงานและกระทรวงสาธารณสุขต่อไป
ทั้งนี้ หัวเว่ย ประเทศไทย มุ่งมั่นที่จะขับเคลื่อนความเสมอภาคและคุณภาพการศึกษาในประเทศไทยด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง โดยในปีนี้ หัวเว่ยยังได้จัดโครงการการแข่งขัน “Spark Ignite 2022 – Thailand Start-up Competition” ในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ซึ่งเป็นโครงการยกระดับการเติบโตของสตาร์ทอัพไทยสู่ระดับภูมิภาคและสนับสนุนการพัฒนาแรงงานด้านดิจิทัลในประเทศไทย ด้วยการสนับสนุนทางการเงิน เทคนิคการตลาด การฝึกอบรม การให้คำปรึกษา และการสนับสนุนด้านเครือข่ายธุรกิจ นอกจากนี้ หัวเว่ยยังได้จัดโครงการ Seeds For the Future ระดับเอเชียแปซิฟิกและแคมเปญ “Tech4Good” ในประเทศไทย เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนไทยได้เข้าร่วมได้เรียนรู้ความรู้พื้นฐานด้านดิจิทัลเกี่ยวกับเทคโนโลยีชั้นนำเช่น 5G และคลาวด์ รวมถึงหลักสูตรทางเลือกที่หลากหลายเพื่อให้เข้าใจเทรนด์ของไอซีทีและแอปพลิเคชันต่างๆ รวมถึงบ่มเพาะทักษะความเป็นผู้นำและการทำงานเป็น