วันพุธที่ 16 พฤศจิกายน 2565ในงาน Supercomputing Conference 2022 (SC22) AMD(NASDAQ: AMD) ได้ขับเคลื่อนการพัฒนาด้านเทคโนโลยีและแสดงศักยภาพความเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมการประมวลผลประสิทธิภาพสูง (HPC) โดยโปรเซสเซอร์ AMD EPYC และกราฟิกการ์ด AMD Instinct ยังคงเป็นตัวเลือกสำหรับเวิร์คโหลดงานด้าน HPC ที่มีความต้องการมากที่สุด เพื่อใช้ในการขับเคลื่อนการจำลองงานและเป็นเครื่องมือในการสร้างโมเดลที่ซับซ้อนที่สุด

ฟอร์เรสต์ นอร์รอด รองประธานอาวุโสและผู้จัดการทั่วไปฝ่าย Data Centre และ Embedded Solution Business Group บริษัท AMD กล่าวว่านวัตกรรมด้านการประมวลผลประสิทธิภาพสูงนั้นมีผลกระทบเชิงบวกอย่างมากในสังคม ทั้งในด้านความก้าวหน้าในการวิจัยที่ล้ำสมัย ซึ่งสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนทั่วโลกได้อย่างมหาศาล AMD ยังคงคิดค้นและพัฒนาผลิตภัณฑ์โปรเซสเซอร์ AMD EPYC และกราฟิกการ์ด AMD Instinct อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้แน่ใจว่านักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยที่กำลังทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่มีความท้าทายมากที่สุดในโลกจะมีเครื่องมือที่ทันสมัยที่สุดสำหรับการวิจัยของพวกเขา

ไฮไลท์สำคัญในงานด้าน HPC

AMD กำลังขับเคลื่อนในเชิงนวัตกรรมทั้งในด้านของประสิทธิภาพการประมวลผลและการใช้พลังงาน ดังที่ได้เห็นในการจัดอันดับซูเปอร์คอมพิวเตอร์ Top500 ครั้งล่าสุด ซึ่งประกอบไปด้วยซูเปอร์คอมพิวเตอร์จำนวน 101 เครื่องที่ขับเคลื่อนประสิทธิภาพบนขุมพลังผลิตภัณฑ์ AMD ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน 2564 ที่มีทั้งหมดเพียง 73 เครื่อง หรือเพิ่มขึ้นถึง 38 เปอร์เซ็นต์จากปีก่อนหน้า โดยซูเปอร์คอมพิวเตอร์ Frontier ที่ขับเคลื่อนประสิทธิภาพบนโปรเซสเซอร์และกราฟิกการ์ด AMD ซึ่งติดตั้งอยู่ที่ Oak Ridge National Laboratory (ORNL) ยังคงมีประสิทธิภาพติดอันดับต้น ๆ ของการจัดอันดับ Top500 ด้วยประสิทธิภาพ 1.1 เอ็กซะฟล็อป โดยมีประสิทธิภาพมากกว่าอันดับถัดไปถึงสองเท่า และมีประสิทธิภาพมากกว่าผลรวมของซูเปอร์คอมพิวเตอร์ 4 อันดับถัดไป อีกทั้งประสิทธิภาพการประมวลผลในรูปแบบ mix-precision ของ Frontier เมื่อโอเวอร์คล็อก มีประสิทธิภาพอยู่ที่ 7.94 เอ็กซะฟล็อป ทดสอบโดย HPL-MxPMixed-Precision Benchmark รวมไปถึงซูเปอร์คอมพิวเตอร์Setonix ที่ขับเคลื่อนประสิทธิภาพการประมวลผลบนโปรเซสเซอร์ AMD EPYC และกราฟิกการ์ด AMD Instinct ซึ่งตั้งอยู่ที่ Pawsey Supercomputing Centre ได้เข้ามาติด Top500 ในอันดับที่ 15 ด้วยประสิทธิภาพ 27.2 เพตะฟล็อป

นอกจากนี้ AMD ยังมีส่วนช่วยในการขับเคลื่อนการใช้พลังงานบนซูเปอร์คอมพิวเตอร์เป็นจำนวนกว่า 75 เปอร์เซ็นต์ของ 20 อันดับแรกในการจัดอันดับ Green500 ซึ่งรวมไปถึงอันดับที่ 2 อย่าง ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ Frontier TDS และอันดับที่ 6 ซึ่งเป็นระบบซูเปอร์คอมพิวเตอร์แบบเต็มรูปแบบ ซูเปอร์คอมพิวเตอร์Adastra พัฒนาโดย GENCI ส่งมอบประสิทธิภาพการประมวลผล 58.02 กิกะฟล็อปต่อวัตต์ และอยู่ในอันดับที่ 3 ของการจัดอันดับ โดย Adastra เป็นซูเปอร์คอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่ขับเคลื่อนประสิทธิภาพบนโปรเซสเซอร์ AMD EPYC เจนเนอเรชั่นที่ 4 และกราฟิกการ์ด AMD Instinct MI250

ฟิลิปเป้ ลาโวแคท ซีอีโอ บริษัท GENCI กล่าวว่าในช่วงต้นปี 2566 GENCI ในฐานะที่เป็นหน่วยงานด้าน HPC/AI ของประเทศฝรั่งเศษ จะมีการปรับใช้พาร์ติชั่นสเกลาร์เพิ่มเติมบนซูเปอร์คอมพิวเตอร์ HPE Cray EX400 ในชื่อ Adastra ซึ่งดำเนินงานโดย CINES (Montpellier) พาร์ติชั่นใหม่นี้มีโหนดประมวลผล 536 โหนด แต่ละโหนดจะมีโปรเซสเซอร์ AMD EPYC เจนเนอเรชั่นที่ 4 แบบคอร์ประมวลผล 96 คอร์ จำนวน 2 ตัว และหน่วยความจำ DDR5 ขนาด 768 GB ซึ่งจะได้รับประสิทธิภาพจากนวัตกรรมล่าสุดของ AMD ในด้านความหนาแน่น/ประสิทธิภาพของคอร์ประมวลผล และประสิทธิภาพการใช้พลังงาน พาร์ติชั่นใหม่นี้จะตอบสนองความต้องการด้านการวิจัยให้กับผู้ใช้ด้านวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในประเทศฝรั่งเศษ ทั้งในด้านภูมิอากาศ ชีววิทยาและการแพทย์ พลังงานหรือส่วนประกอบใหม่ ๆ

ปีแห่งชัยชนะในด้านความก้าวหน้าทางอุตสาหกรรมและระบบนิเวศ

AMD ยังคงสร้างประวัติศาสตร์ในการเป็นบริษัทแรกในอุตสาหกรรมที่นำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพล้ำสมัย นอกจากนี้ ในความร่วมมือครั้งล่าสุดยังได้พัฒนาอุตสาหกรรมด้าน HPC อย่างมีนับสำคัญ และแสดงให้เห็นถึงความต้องการที่เติบโตขึ้นอย่างมากในผลิตภัณฑ์โปรเซสเซอร์และกราฟิกการ์ด AMD

AMD ประกาศเปิดตัวโปรเซสเซอร์ AMD EPYC เจนเนอเรชั่นที่ 4 พร้อมคอร์ประมวลผลสูงสุด 96 คอร์ 12 แชนแนล และหน่วยความจำ DDR5 สูงสุด 384GB เสนอประสิทธิภาพการประมวลผลในระดับผู้นำที่จำเป็นสำหรับเวิร์คโหลดงานสำคัญด้าน HPC
HPE ประกาศรองรับโปรเซสเซอร์ AMD EPYC เจนเนอเรชั่นที่ 4 และกราฟิกการ์ด AMD Instinct MI250X บนซูเปอร์คอมพิวเตอร์ HPE Cray EX2500 และ HPE Cray XD2000
Lenovo ประกาศว่า Potsdam Institute for Climate Research (PIK) ได้เลือกโซลูชั่นระบายความร้อนระบบน้ำสำหรับงานด้าน HPC และ Lenovo Neptune ของ Lenovo มาใช้ในการพัฒนาซูเปอร์คอมพิวเตอร์เครื่องถัดไป ซึ่งจะรองรับโปรเซสเซอร์ AMD EPYC เจนเนอเรชั่นที่ 4
Microsoft ประกาศเปิดตัวเวอร์ชวลแมชชีน (VMs) รุ่นทดลอง สำหรับการทำงานด้าน HPC โดยเวอร์ชวลแมชชีนซีรีย์ HBv4 และซีรีย์ HX ใหม่ ขับเคลื่อนประสิทธิภาพบนโปรเซสเซอร์ 4th Gen AMD EPYC และจะมาพร้อมเทคโนโลยีฟีเจอร์ AMD 3D V-Cache™ Technology เมื่อวางจำหน่ายในปี 2566 นอกจากนี้ Microsoft ยังได้ประกาศเปิดตัวเวอร์ชวลแมชชีนและคอนเทนเนอร์เพิ่มเติมที่ขับเคลื่อนประสิทธิภาพบนโปรเซสเซอร์ 4th Gen AMD EPYC อีกด้วย
ความร่วมมือระหว่าง DeVito และ AMD ในการรองรับกราฟิกการ์ด AMD Instinct MI200 และซอฟต์แวร์ AMD ROCm บน HIP เพื่อยกระดับประสิทธิภาพการทำงานให้กับลูกค้า DeVito
AMD ได้รับรางวัลด้านนวัตกรรม 5 รางวัลในงานประจำปี HPCwaire Readers’ and Editors’ Choice Awardsประกอบด้วยรางวัล Top Supercomputing Achievement และ Best Sustainability Innovation in HPC

AMD ขับเคลื่อนการทำงานบนโอเพนซอร์ส AI

กราฟิกการ์ด AMD ได้รับการสนับสนุนบนซอฟต์แวร์ระบบเปิดROCm ซึ่งช่วยให้กระบวนการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สามารถดำเนินงานไปอย่างราบรื่น โดยสามารถรวมเข้ากับการทำงานบนซอฟต์แวร์ของผู้จัดจำหน่ายและในด้านสถาปัตยกรรมหลากหลายราย ในปีนี้ AMD ประกาศขยายระบบนิเวศบนผลิตภัณฑ์กราฟิกการ์ด AMD Instinct และซอฟต์แวร์ ROCm เสนอเทคโนโลยีระดับเอ็กซาร์สเกลให้กับลูกค้าในด้าน HPC และ AI

นอกจากนี้ AMD ยังได้เข้าร่วม PyTorch Foundation อย่างเป็นทางการ ในฐาณะสมาชิกผู้ก่อตั้ง ซึ่งแต่เดิมถูกตัดตั้งขึ้นโดย Meta AI โดยจะอยู่ภายใต้องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร Linux Foundation เพื่อผลักดันการเครื่องมือด้าน AI มาใช้ในการส่งเสริมและรักษาระบบนิเวศด้านโครงการโอเพนซอร์ส ซึ่งทาง Meta AI ได้พัฒนาโอเพนซอร์ส AITemplate (AIT) ซึ่งเป็นระบบการอนุมานแบบรวมศูนย์ที่สามารถเร่งกระบวนการทำงานผ่านกราฟิกการ์ด AMD Instinct เสนอประสิทธิภาพการทำงานบนเมทริกซ์คอร์ที่ใกล้เคียงบนฮาร์ดแวร์ในรูปแบบ AI ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย

ผู้ที่สนใจสามารถเข้าเยี่ยมชมบูธ AMD หมายเลข #2417 ที่งาน SC22 เพื่อศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโซลูชั่นด้าน HPC และร่วมพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญของ AMD

Supporting Resources

Find more AMD HPC & AI information and customer testimonials on the AMD HPC and AI Solutions Hub
Follow AMD on Twitter
Connect with AMD on LinkedIn