DJI ซึ่งเป็นบริษัทโดรนที่ใหญ่ที่สุดในโลก ได้ฟ้องกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ (DoD) เพื่อให้ลบชื่อของตนออกจากรายชื่อบริษัททหารจีน โดยอ้างว่าไม่มีความสัมพันกับทางการจีน และได้รับความเสียหายอย่างไม่เป็นธรรมจากการถูกกำหนดให้เป็นเช่นนั้น

ตั้งแต่ DJI ถูกเพิ่มเข้าไปในรายชื่อนั้นในปี 2022 บริษัทอ้างว่าสูญเสียข้อตกลงทางธุรกิจ และถูกป้ายสีว่าเป็นภัยคุกคามความมั่นคงแห่งชาติ และถูกแบนจากการทำสัญญากับหน่วยงานรัฐบาลกลางหลายแห่ง

นอกจากนี้ พนักงานของบริษัทกำลังประสบกับการถูกป้ายสีอย่างบ่อยครั้งและแพร่หลาย รวมทั้งถูกคุกคามและดูถูกอย่างต่อเนื่องในสถานที่สาธารณะ

บริษัทยังกล่าวหาว่า DoD ไม่ยอมให้เหตุผลใด ๆ สำหรับการกำหนดให้เป็นบริษัททหารจีน จนกระทั่ง DJI ขู่ฟ้องร้องในเดือนกันยายนนี้ และอ้างว่าเมื่อ DoD เสนอเหตุผล เหตุผลเหล่านั้นก็เต็มไปด้วยข้อผิดพลาด

[ไทม์ไลน์คร่าวๆ ของการแบน DJI โดยหน่วยงานสหรัฐฯ]

ไม่ว่า DoD จะมีหลักฐานเพียงพอที่จะติดป้าย DJI แบบนี้หรือไม่ ก็ถือว่าไม่ใช่หน่วยงานเดียวของรัฐบาลสหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มที่จะจำกัดและตรวจสอบบริษัทเกี่ยวกับความสัมพันธ์ที่เป็นไปได้กับรัฐบาลจีน

กองทัพสหรัฐฯ ขอให้หน่วยงานต่างๆ หยุดใช้โดรน DJI ตั้งแต่ปี 2017 และในปี 2019 กระทรวงมหาดไทยสหรัฐฯ ได้สั่งหยุดบินฝูงบินโดรน DJI ของตนเนื่องจากมีความเสี่ยงด้านการสอดแนม

ในปี 2020 กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ ได้เพิ่ม DJI เข้าไปในรายชื่อ Entity List โดยห้ามบริษัทสหรัฐฯ ส่งออกเทคโนโลยีไปยัง DJI หลังจาก มีส่วนในในการละเมิดสิทธิมนการมนุษย์ในวงกว้างภายในจีนผ่านการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ทางพันธุกรรมที่ไม่เป็นธรรมหรือเทคโนโลยีการสอดแนมขั้นสูง

ในปี 2021 กระทรวงการคลังสหรัฐฯ ได้เพิ่ม DJI เข้าไปในรายชื่อของบริษัทอุตสาหกรรมการทหารจีนแบบ Non-SDN โดยเขียนว่าบริษัทได้จัดหาโดรนให้กับรัฐบาลจีนเพื่อให้สามารถสอดแนมชาวอุยกูร์ได้ ส่งผลให้ DJI มีส่วนร่วมในการละเมิดสิทธิมนุษย์อย่างร้ายแรง

หน่วยงานรัฐบาลสหรัฐฯ บางแห่งถูกห้ามซื้อโดรน DJI ใหม่ตามการดำเนินการต่าง ๆ เหล่านี้ และในสัปดาห์ที่ผ่านมา DJI รายงานว่าโดรนบางตัวของบริษัทถูกบล็อกโดยศุลกากรสหรัฐฯ โดยใช้พระราชบัญญัติป้องกันแรงงานทาสอุยกูร์เป็นเหตุผล

[การแก้ต่างของ DJI]

ทาง DJI แก้ต่างอย่างซ้ำแล้วซ้ำเล่าว่ารัฐบาลจีนไม่ได้เป็นเจ้าของหรือควบคุมบริษัท และบริษัทไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติต่อชาวอุยกูร์ในซินเจียง โดยว่าบริษัทเพียงแค่ขายโดรนที่อาจถูกนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ ที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของบริษัทหลังจากนั้น

ซึ่งโดรนถูกนำไปใช้ในหลายจุดประสงค์ เช่น ได้ช่วยหน่วยงานต่างๆ ในสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ DJI ยังกล่าวว่าการตรวจสอบอิสระโดยบริษัทที่ปรึกษาและหน่วยงานรัฐบาลสหรัฐฯ (รวมถึง DoD) ไม่พบภัยคุกคามด้านความปลอดภัย

ในขณะที่ DJI ยอมรับในข้อร้องเรียนว่ากองทุนการลงทุนของรัฐบาลจีนสองแห่งได้ทำการลงทุนในบริษัทเป็นผู้ถือหุ้นรายย่อย บริษัทอ้างว่า Shanghai Free Trade Zone Equity Fund “มีหุ้นของ DJI น้อยกว่า 1% และมีสิทธิออกเสียงของ DJI น้อยกว่า 0.1%” และ Chengtong Fund ได้ยุติการลงทุนในเดือนมิถุนายน 2023

(DJI กล่าวว่ามีเพียงสี่คนเท่านั้นที่ควบคุม DJI 99 เปอร์เซ็นต์และเป็นเจ้าของหุ้น 87 เปอร์เซ็นต์ – ผู้ก่อตั้ง DJI และพนักงานในช่วงแรก Frank Wang, Henry Lu, Swift Xie และ Li Zexiang)

[ผู้ที่ครอบครองโดรน DJI ในปัจจุบันจะไม่ได้รับผลกระทบแต่อย่างใด]

อย่างไรก็ดี แม้สภา congress ของสหรัฐฯ จะกำลังพิจารณาการแบนการนำเข้าโดรนใหม่ของ DJI และอุปกรณ์อื่นๆ มายังสหรัฐฯ แต่ปัจจุบันรัฐบาลสหรัฐฯ ก็ยังไม่ได้สั่งห้ามนำเข้า ห้ามวางขาย หรือห้ามประชาชนบินโดรนของ DJI ในสหรัฐฯ แต่อย่างใด และแม้กฏหมายใหม่จะห้ามวางขายโดรนใหม่ของ DJI แต่ผู้ใช้เดิมก็ยังคงบินโดรน DJI ได้ตามปกติ

SOURCE