เนื่องจากนโยบายการส่งเสริมการใช้งานบริการจากกลุ่มสตาร์ทอัพในภาครัฐ ในวันที่ 27 สิงหาคม 2562 บริษัทสตาร์ทอัพแนวหน้าของเมืองไทยสองรายได้แก่ คิวคิว (ประเทศไทย) จํากัด และ บริษัท อรินแคร์ จํากัด จึงจัดงานเปิดตัวโครงการ ปราจีนบุรีเมืองสุขภาพดี (PMID Prachinburi Medical Innovation District Opening Day) “Making the real impact” “สร้างต้นแบบของจริง” ให้เป็นโมเดลต้นแบบการพัฒนาเมืองสาธารณสุขด้วยนวัตกรรมขึ้นที่โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรโดยมี ผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรีเป็นประธาน เพื่อต่อยอดไปยังการนําเทคโนโลยีและการบริการอื่นๆของกลุ่มสตาร์ทอัพเข้ามาร่วมสร้างประโยชน์และแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนได้อย่างแท้จริง

ภายในงานผู้จัดได้นำคณะสื่อมวลชน ผู้ว่านาชการจังหวัด ตัวแทนจากสาธารณะสุข รวมไปถึงหน่วยงานรัฐที่สนับสนุนธุรกิจสตาร์ทอัพ เข้าเยี่ยมชมนวัตกรรมจาก สตาร์ทอัพ ที่ได้นํามาใช้กับโรงพยาบาล โดยโรงพยาบาลในจังหวัด 6 โรงพยาบาล ได้แก่ โรงพยาบาลเจา้พระยาอภยัภูเบศร โรงพยาบาลกบินทร์บุรี โรงพยาบาลนาดี โรงพยาบาลบ้านสร้าง โรงพยาบาลศรีมโหสถ และโรงพยาบาลศรีมหาโพธิ์ เป็น 6 โรงพยาบาลนําร่อง

ซึ้งนวัตกรรมที่ได้นำมาใช้เพื่อเป็นตัวตั้งต้นในการขยายผลไปยังบริการในส่วนอื่นๆนั้น มีอยู่ด้วยกัน 2 นวัตกรรม ได้แก่


QueQ Hospital Solution ระบบบริหารจัดการคิวจากบริษัทคิว คิว (ประเทศไทย) จํากัด ซึ้งช่วยให้ผู้ป่วยสามารถบริหารจัดเวลาในการมาโรงพยาบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยให้ผู้ป่วยสามารถที่จะใช้ Mobile Application ในการจองคิวล่วงหน้าจากที่บ้าน เข้ารับบริการตามนัดหมาย ไม่ต้องมานั่งรอเสียเวลาที่หน้าห้องตรวจนาน ๆ เสร็จสิ้นการรับบริการได้อย่างรวดเร็วไม่ว่าจะต้องไปตรวจกี่แผนก และยังช่วยให้พยาบาล และคุณหมอ สามารถตรวจสอบคิวทั้งหมดในแผนก ได้แบบเรียลไทม์ ส่วนในฝั่งของโรงพยาบาลเองนั้นสามารถที่จะตรวจสอบการแน่นขนัด เห็นจุดที่มีปัญหา เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพโดยรวมของการบริการได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งขณะนี้ได้พร้อมให้บริการในหลายๆแผนกของทั้ง 6 โรงพยาบาลแล้ว และคาดว่าจะขยายผลไปยังทุกแผนกภายปีนี้

Arincare แพล็ตฟอร์มบริหารจัดการเภสชักรรมครบวงจร จากบริษัท อรินแคร์ จํากัด ซึ้งจะช่วยเภสัชกรและผู้ประกอบการร้านขายยา สามารถบริหารคลังยา จ่ายยา เก็บประวัติคนไข้ รวมถึงเชื่อมต่อส่งตัวคนไข้ไปยังสถานพยาบาลเพื่อรักษาต่อ ภายใต้แนวคิด “ Digital Pharmacy Solution ” ซึ้งได้ถูกนํามาใช้กับร้ายขายยาในโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว นอกจากนั้น อรินแคร์ ยังมีระบบใบสั่งยาอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E – Prescription เพื่อยกระดับสาธารณสุขเป็นเจ้าแรกในประเทศไทย โดยมีเป้าหมายเพื่อลดความเหลื่อมลํ้าด้านสาธารณสุข แก้ปัญหาราคายาแพง ปัญหาการใช้ยาแบบผิดประเภท และการจําหน่ายยาแบบผิดกฏหมาย อันเป็นอันตรายต่อสุขภาพและชีวิตของคนไทยทุกคน

ในช่วงบ่าย มีพิธีลงนามข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ในการผลักดันจังหวัดปราจีนบุรี ให้เป็น PMID (Prachinburi Medical Innovation District) ณ หอประชุมอภัยภูเบศรชั้น 3 อาคารศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษาชั้นคลินิก โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรีเป็นประธานและลงนามในความร่วมมือนี้ มีเป้าหมายในการ “ สร้างของจริง ” ที่ใช้งานได้ และวัดผลได้จริง เพื่อสร้างปราจีนบุรีเป็นเมืองตัวอย่าง ของการนํานวัตกรรมจาก สตาร์ทอัพ สัญชาติไทย มาพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไทยได้อย่างแท้จริงและยั่งยืน

หลังจากนั้นคณะผู้บริหารและตัวแทนจากหน่วยงานต่าง ๆ ได้แก่ สํานักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) , สํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิตอล (DEPA) , สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (NSTDA) และ สมาคมเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยีรายใหม่ (TTSA) ที่ได้มาร่วมสนทนาถึงแนวทางในการสนับสนุน ธุรกิจสตาร์ทอัพในการทํางานร่วมกับภาครัฐและผลสําเร็จที่เกิดขึ้นจากโครงการต่างๆ

ไม่ว่าจะเป็นโครงการ Government Procurement Transformation (GPT) จาก NIA ที่ช่วยให้สตาร์ทอัพทํางานกับภาครัฐได้ง่ายขึ้นด้วยการเปิดโอกาสให้หน่วยงานรัฐสามารถจัดซื้อจัดจ้างบริการหรือสินค้าต่างๆ ได้ ภาคเอกชนได้ง่ายขึ้น ปลดล็อคข้อจํากัด พัฒนาสตาร์ทอัพสู่ตลาดภาครัฐ ซึ่งมีขนาดใหญ่ ซึ่งถ้าหากไม่ได้โครงการนี้เปิดทางให้ QueQ และ Arincare สามารถเข้าถึงตลาดภาครัฐได้งานความร่วมมือวันนี้ก็อาจจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้เลย ”
และยังมีในส่วนของ depa Digital StartUp Fund เงินทุนสนับสนุนเริ่มต้นของผู้ประกอบการธุรกิจดิจิทัลจาก DEPA หรือ การอบรมเพื่อบ่มเพาะนักธุรกิจดิจิทัล (Business Incubator) จาก NSTDA รวมถึงกิจกรรมและโครงการต่างๆ ที่สมาคม TTSA จัดขึ้นเพื่อร่วมสร้างสังคมของผู้ประกอบการและ Ecosystem ของสตาร์ทอัพไทย ให้แข็งแรงมากยิ่งขึ้นและกลายเป็นกลไกที่สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศอย่างยั่งยืน