Pluton ถือเป็นหนึ่งในโปรเซสเซอร์รักษาความปลอดภัยของ Microsoft ที่สามารถรักษาความปลอดภัยของฮาร์ดแวร์และรักษาข้อมูลที่ละเอียดอ่อนได้ ผ่านคีย์การเข้ารหัสภายในตัวซีพียู ซึ่งถูกรวมเข้ากับซีพียูเป็นหนึ่งเดียวกันคล้ายกับที่ Apple ฝังชิปความปลอดภัย T2 ลงในชิป M1 นั่นเอง ซึ่งเจ้า Pluton ก็ถูกบรรจุมาในซีพียู Ryzen 6000 รุ่นแล็ปท็อปที่จะมาถึงในปี 2022 นี้ด้วย

นอกจากนั้นทางชิปประมวลผลตัวใหม่ของ Qualcomm อย่าง Snapdragon 8cx Gen3 รุ่นที่ใช้ในแล็ปท็อปรวมทั้งชิปในอนาคตของ Intel ก็จะรองรับ Pluton ด้วย อย่างไรก็ตาม AMD และพันธมิตรถือเป็นบริษัทแรกที่นำ Pluton มาใช้ในชิปคอมพิวเตอร์ในการใช้งานจริง

สไลด์จาก Microsoft โน้มน้าว Pluton ให้เป็นส่วนหนึ่งของโซลูชันการรักษาความปลอดภัยชิปสู่คลาวด์

การทำงานของ Pluton

แนวคิดที่เป็นพื้นฐานของ Pluton คือ Trusted Platforn Module (TPM) ที่เป็นมาตรการรักษาความปลอดภัยที่ป้องกันการโจมตีจากเฟิร์มแวร์ที่ถูกปลอมแปลงซึ่งนำไปสู่การโจมตีข้อมูลที่ถูกจัดเก็บไว้ในตัวคอมพิวเตอร์ได้ และอาจมีการใช้วิธีการอื่น ๆ เพื่อรักกษาความปลอดภัย เช่น การเข้ารหัส BitLocker และการรักษาความปลอดภัยสำหรับข้อมูลทางชีวภาพที่ใช้กับ Windows Hello (เช่น การปลดล็อกด้วยใบหน้า)

ทั้งนี้แม้ว่า TPM จะป้องกันการโจมตีระดับพื้นฐานได้ แต่แฮ็กเกอร์ก็สามารถมองหาจุดอ่อนของมันได้โดยโจมตีผ่านเส้นการสื่อสารระหว่างชิปฮาร์ดแวร์ TPM (โดยทั่วไปจะพบบนเมนบอร์ด ) และซีพียู

ด้วยเหตุนี้ Pluton จึงเข้ามาแก้ไขจุดอ่อนนี้โดยขจัดการสื่อสารภายนอกระหว่าง TPM และซีพียู ผ่านการใช้ฝังชิปรักษาความปลอดภัยลงในซีพียู ซึ่งทาง Microsoft เผยว่าการป้องกันนี้ยากต่อการดึงข้อมูลแม้ว่าจะทำการโจมตีอุปกรณ์ทางกายภาพโดยตรงก็ตาม นอกจากนั้นทาง Microsoft ยังเผยว่าตัว Pluton สามารถทำงานได้ไม่จะเป็นต้องใช้ TPM ก็ได้

การติดตั้ง Pluton ในซีพียูจะทำให้การปกป้องข้อมูลที่ละเอียดอ่อนทำได้ดียิ่งขึ้น ตัวอย่างการทำงานของระบบรักษาความปลอดภัย Pluton คือ การใช้เทคโนโลยี Secure Hardware Cryptography Key (SHACK) ที่ข้อมูลจะไม่ถูกเปิดเผยให้แก่ฮาร์ดแวร์ภายนอกที่ไม่ได้รับการป้องกัน

ในส่วนของซอฟต์แวร์ Pluton สามารถอัปเดตผ่าน Windows Update ได้เหมือนกับส่วนประกอบอื่น ๆ ในคอมพิวเตอร์ ด้วยเหตุนี้ Pluton จึงสามารถถูกใช้ในคอมพิวเตอร์รุ่นเก่า ๆ ได้ตามคอนเซ็ปต์ “chip-to-cloud” ของ Microsoft ตามการรองรับของตัวอุปกรณ์

Pluton จะปรากฏในท้องตลาดเป็นครั้งแรกใน Ryzen 6000

แม้ว่า Qualcomm จะเป็นบริษัทแรกที่ประกาศรองรับการใช้งาน Pluton บนชิปที่ใช้ในแล็บท็อปของตน แต่ AMD จะเป็นแบรนด์แรกสุดที่นำชิปที่ใช้งาน Pluton ไปวางจำหน่ายในตลาดจริงในรุ่นที่ใช้ชิป Ryzen 6000 นอกจากนั้นยังคาดการณ์ว่าจะมีแล็บท็อปที่ใช้ชิปดังกล่าวเปิดในปีนี้มากกว่า 200 เครื่อง จากแบรนด์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น Asus, Dell, HP และ Lenovo ที่ได้นำแล็บท็อป Lenovo Legion 5 ขนาด 16 นิ้วที่ใช้ชิป Ryzen 6000 ไปเปิดตัวในงาน CES 2022 ด้วย

ในส่วนของคอมพิวเตอร์ Desktop ทาง Microsoft เผยว่า “ซีพียู Pluton จะพร้อมใช้งานสำหรับเดสก์ท็อป 2-in-1 และรูปแบบคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลอื่น ๆ ของ Windows 11 ในอนาคตอันใกล้นี้” กล่าวโดยโฆษกของทางบริษัท