หลายคนอาจทราบอยู่แล้วว่าแล็ปท็อปหลาย ๆ รุ่นในปัจจุบันมักมีพอร์ต USB-C มาให้ด้วย แต่บางครั้งพอร์ตที่มีลักษณะเหมือนกันก็อาจถูกเรียกว่าพอร์ต Thunderbolt 3 ซึ่งพอร์ตทั้ง 2 แบบมีความแตกต่างกันอย่างไรนั้น วันนี้เรามีคำตอบมาให้ครับ เพราะในการใช้งานคอมพิวเตอร์หรือว่าเวลาเลือกซื้อนั้นหลายๆคนมักจะถามหาตัวพอร์ต Thunderbolt 3 กันว่าตัวนี้มีมาให้หรือไม่อย่างไรและ แน่นอนว่าหลายๆคนมักจะดูสเปกส่วนนี้กันค่อนข้างเยอะ แต่ต้องบอกกันตรงๆว่ามีจำนวนค่อนข้างน้อยที่จะรู้ว่าพอร์ตนี้จริงๆแล้วเราจะได้ใช้หรือมีความจำเป็นมากน้อยแค่ไหนครับทั้งเรื่องของการใช้งาน หรือ อุปกรณ์รองรับ และมันจำเป็นจริงๆไหมในการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ในสมัยนี้ เพราะต้องบอกว่าหลายๆรุ่นในปัจจุบันก็ไม่ได้ใส่เข้ามาให้กันซักเท่าไร เพราะจริงๆแล้วมันอาจจะเอาไปลงในส่วนอื่นแทนดีกว่าไหม หรือ จำเป็นกว่าไหมนั้นเองครับก็มาดูข้อมูลในส่วนนี้กันซักนิดนึงสำหรับเจ้าพอร์ต Thunderbolt 3 ตัวนี้ครับ

ก่อนอื่นเราต้องมาทำความรู้จักกับหัวข้อต่อ USB-C และ USB 3.1 กันก่อนว่ามันเป็นพอร์ตเชื่อมต่อสำหรับถ่ายโอนข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ หรือใช้สำหรับชาร์จไฟเข้าอุปกรณ์ที่ถูกพัฒนาต่อจากหัวแบบ USB-B และในความเร็วที่พัฒนาต่อจาก USB 3.0 นั่นเอง ซึ่งเจ้า USB-C ในแต่ละความเร็ว 3.2 GEN 1 ,GEN 2,GEN2X2 นั้นมีความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลสูงสุดอยู่ที่ 20 Gbps และสามารถเชื่อมต่อสัญญาณวิดีโอออกไปยังอุปกรณ์อื่นได้ เช่น HDMI, VGA และ DisplayPort โดยต้องใช้ตัวแปลงหรืออะแดปเตอร์ และ การส่งภาพอาจจะไม่ได้ไวมากนักแม้จะเป็น USB-C 3.2 GEN 1 ,GEN 2,GEN2X2 ก็ตามก็จะได้ระดับ 5,10, 20 Gbps ประมาณนี้นั้นเองครับในการทำงานจริง

Thunderbolt™ for Developers

ส่วนพอร์ต Thunderbolt 3 (ในที่นี้จะกล่าวถึงแค่เวอร์ชั่นนี้นะครับ) นั้นเป็นพอร์ตที่ถูกอัพเกรดให้มีความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลสูงสุดถึง 40Gbps ทำให้มีความเร็วสูงกว่า USB-C 3.1 แบบธรรมดาถึง 4 เท่าเลยทีเดียว และยังคงเป็นความเร็วสูงสุดในตอนนี้ในบรรดาช่องการเชื่อมต่อทั้งหมด และจะเท่ากันกับ USB 4.0 ที่อ่านเขียนโอนข้อมูลทุกอย่างเท่ากันกับ Thunderbolt 3 นะครับ แต่ทั้งนี้นั้น !!! ทางเราต้องมีอุปกรณ์ที่รองรับด้วยนะตัวนี้เพราะว่าถ้ามี Thunderbolt 3 บนคอมพิวเตอร์เราก็จริงแต่ถ้าเราไม่มี อุปกรณ์ที่รองรับก็จะอ่านเขียนได้ไม่ไวอยู่ดีนั้นเองครับ

นอกจากนั้นสิ่งที่พอร์ต Thunderbolt 3 ถูกอัพเกรดขึ้นมาจากพอร์ต USB-C แบบธรรมดาก็คือ

  • สามารถเชื่อมต่อกับหน้าจอความละเอียด 4K ที่ 60fps ได้ถึง 2 หน้าจอ
  • สามารถชาร์จไฟได้ให้แก่อุปกรณ์ต่าง ๆ ได้สูงสุด 100W
  • สามารถเชื่อมต่อการ์ดจอจากภายนอกได้ (เช่นไว้สำหรับเล่นเกมที่กินสเปกการ์ดจอหนัก ๆ บน Macbook เป็นต้น)
  • เชื่อมต่ออุปกรณ์แบบลูกโซ่ได้สูงสุด 6 อุปกรณ์
  • สามารถเชื่อมต่อผ่าน protocol ได้หลายแบบได้แก่ Thunderbolt, USB, DisplayPort และ PCI Express
  • นอกนั้นทำได้เหมือน USB-C ทุกอย่าง 

Thunderbolt™ for Developers

ซึ่งด้วยความที่ทั้งพอร์ต USB-C และพอร์ต Thunderbolt 3 นั้นมีความเหมือนกันมาก ๆ วิธีแยกความแตกต่างก็คือให้สังเกตสัญลักษณ์คล้ายกับสายฟ้าที่เป็นลูกศรชี้ลง โดยรูพอร์ตและสายชาร์จอันไหนมีสัญลักษณ์ดังกล่าวปรากฏอยู่ก็หมายความว่าอุปกรณ์หรือสายนั้นเป็นแบบ Thunderbolt 3 นั่นเอง และตัวอุปกรณ์ที่นำมาใช้ก็ควรรองรับด้วย

A close-up shot of laptop ports including (from left) HDMI, Thunderbolt 3, DisplayPort, and dual USB ports.
พอร์ตที่ 2 จากทางขวาคือพอร์ตที่รองรับ Thunderbolt

โดยสรุปก็คือพอร์ต Thunderbolt 3 ไม่ได้มีความจำเป็นสำหรับการใช้งานทั่วไปแต่อย่างใด เพราะสิ่งที่ได้จากการอัพเกรดเป็น Thunderbolt 3 มีเพียงการถ่ายโอนข้อมูลที่เร็วขึ้น แต่ต้องมีอุปกรณ์ที่รองรับด้วย และการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอกที่หลากหลายขึ้นเท่านั้น ดังนั้นหากต้องการประหยัดงบ ก็เลือกอุปกรณ์ที่มีแค่พอร์ต USB-C ก็เพียงพอแล้วครับ เพราะในยุคนี้ คอมพิวเตอร์หลายๆตัวรวมถึงหลายๆรุ่นที่ใช้งาน AMD Ryzen ก็จะไม่มีเทคโนโลยีนี้หลายๆคนเลยสงสัยว่าทำไม หรือมันจำเป็นไหมครับ ต้องบอกกันตรงๆว่าถ้าใช้งานทั่วไปไม่ได้ทำงานโหดหรือต่อการ์ดจอแยกอะไรซึ่งต้องมีอุปกรณ์รองรับมันก็ไม่ได้จำเป็นขนาดนั้นและคนที่ซื้อไปก็ไม่ต้องเสียดายด้วยเช่นกัน แต่ถ้าหากใครมีอุปกรณ์ที่รองรับทั้งหมด มีจอ 4K ที่ต้องต่อทำงาน หรือ มีการ์ดจอภายนอกแยกอยู่แล้วนั้นก็ต้องเป็นคนที่มีการใช้งานระดับสูง ทำงานสายอาชีพซะเป็นส่วนใหญ่ทั้งนั้นครับ ไม่ต้องเสียดายหรือไปหาพอร์ตตัวนี้มากขนาดนั้น

SOURCE1, SOURCE2