ASUS ถือว่าเป็นแบรนด์ที่ร่วมทำ ChromeBook กันมาเรื่อยๆแต่ในไทยเองอาจจะไม่ได้รู้จักหรือได้ยินกันมากนัก และไม่ค่อยมีแบรนด์ไหนลุยตลาดนี้ซักเท่าไร ทำให้เรารู้จักกันเฉพาะกลุ่มมากๆนั้นเอง ซึ่งจริงๆตัว Chromebook เองนั้นจะเป็นพื้นฐานจาก Google ล้วนๆไม่ใช่ Microsoft แบบที่คุ้นเคยกันครับ ทำให้หลายๆอย่างแตกต่างกันทั้งหมด รวมถึงจุดเด่นๆที่น่าสนใจไม่ว่าจะเป็นเรื่องของระบบที่ใช้งานได้ง่าย มีความปลอดภัยสูง มีความนิ่ง รีบูทได้ไวรวมถึง ลื่นไหลและอิสระในการโหลดแอปใช้งานต่างๆ ซึ่งต้องบอกตรงๆว่าเหมาะกับ นักศึกษาต่างๆ หรือ การเรียนการสอนเพราะระบบใช้งานได้ง่าย จัดการเป็นระบบใหญ่ๆได้ และ รองรับอะไรได้หลากหลาย ซึ่งจะใช้ Google Account เดียวกับที่เราใช้งานบนมือถือ และ ข้อมูลจะพูดคุยกันได้ง่ายมากๆ และมีฟีเจอร์รองรับได้หลากหลายเช่นกัน รองรับ ผู้ใช้งานหลายๆ ไอดีก็เข้าได้ง่ายคนละส่วนแยกกันชัดเจน ระบบป้องกันความปลอดภัยต่างๆ ไวรัสอะไรไม่มีปัญหาแน่นอน  และที่สำคัญรองรับคำสั่งเสียง Google ในตัว และ เรื่องของพลังงานแบตจัดการได้โหดมาก สำหรับเจ้า ASUS CHROMEBOOK FLIP CX5 ตัวนี้ถือว่าตอบโจทย์การเรียน การสอนและใช้งานทั่วไปได้สบาย

ASUS CHROMEBOOK FLIP CX5500 ตัวนี้ จะมาพร้อมกับ Intel® Core™ เจนเนอเรชันที่11 รุ่นล่าสุด ทั้ง i3 i5 i7 ซึ่งรุ่นที่เราจะมารีวิวจะเป็นรุ่นเริ่มต้น  i3-1115G4 Processor 3.0 GHz (6M Cache, up to 4.1 GHz, 2 cores 4 threads) ใช้งานการ์ดจอในตัว Intel® UHD Graphics และ หน่วยความจำ RAM 8GB 4266 MHz LPDDR4X on board,Memory ไม่รองรับการอัพเกรดนะครับ พร้อมกับ 256 GB PCIe 3.0 NVMe M.2 SSD และ ใช้งานหน้าจอสัมผัส 15.6 นิ้ว หน้าจอ IPC LCD รองรับความละเอียด 1920*1080 FHD ใช้หน้าจอแบบเงา รองรับความสว่างสูงสุด 250nits และ NTSC 45% สัดส่วนต่อตัวเครื่อง 81% รองรับปากกาเต็มรูปแบบ และใช้งานระบบเสียงลำโพงคู่ จากทาง Harman/Kardon เช่นเดิม และ คีย์บอร์ด ระยะกด 1.4 มม. มีภาษาไทย และ มีไฟในตัวมาให้ครบ รวมถึงมีกล้อง Webcam HD และ ไมค์คู่ รองรับการตัดเสียง  และ รับคำสั่งเสียง Google Assistant รวมถึง มีพอร์ตเชื่อมต่อครับทั้ง USB 3.2 Gen 2 Type-A + HDMI  + USB 3.2 Gen 2 Type-C และ Micro SD Card ด้วยเช่นกัน รวมถึงมาพร้อมกับ แบต 57WHrs ใช้งานได้ 11 ชั่วโมง และ รองรับการชาร์จ Type-C 45W รวมถึงปากกาเองนั้นให้มาในกล่องพร้อมใช้งาน การออกแบบที่สวยและใช้งานพับได้อิสระ 360 องศาเลยทีเดียวครับ รวมถึง ยังคงได้ MIL-STD 810H รองรับการกันกระแทกอะไรได้สบาย บนระบบ Chrome OS เต็มรูปแบบ  พร้อมประกัน 3 ปี ทั่วโลก + Onsite รวมถึง อุบัติเหตุ 1 ปีแรกด้วยเช่นกันเรียกได้ว่าครบ

PRICE  ASUS CHROMEBOOK FLIP CX5 : CX5500 ราคา 23,000 บาท ใน สเปก i3 1115G4 + RAM 8GB + SSD 256 GB + 15.6 นิ้ว IPS FHD : Immersive White และ รุ่น i5 30,000 บาท  

UNBOX

  • ตัวเครื่อง ASUS CHROMEBOOK FLIP CX5
  • คู่มือการใช้งาน
  • เมาส์ไร้สาย ASUS
  • ที่ชาร์จ Adaptor 45W  USB-C
  • ปากกา ASUS Pen USI
  • ซองผ้าใส่คอมพิวเตอร์

ปากกาเป็นระบบใหม่ USI พร้อมกับรูปทรงที่มีขนาดใหญ่ ดูหรูหราส่วนปลายมีความเงาโครเมี่ยมสวยงาม และใช้ถ่ายข้างในแบบ AAAA ซึ่งตัวปากกาเองนั้นจะไม่ได้มีที่เก็บในตัวแต่จะต้องเสียบกับซองที่ให้มา ซึ่งจะเป็นแม่เหล็กในตัวเอาไปเสียบกับช่อง Micro-SD Card ในตัวเครื่องน่าเสียดายมากๆว่าไม่มีแม่เหล็กในตัว เลยให้สำรองมาอีกชุดครับสำหรับซองใส่ปากกา ส่วนเมาส์ไร้สายให้มาในกล่องพร้อมกับขนาดอะไรกำลังดี จะเห็นว่าขนาดของ Adaptor เองนั้นเล็กกว่าตัวเมาส์ซะอีกทำให้ตัวนี้สามารถพกพาได้สบายและไม่ได้หนักต่อการพกพาด้วยเช่นกันครับ

DESIGN

งานออกแบบตัวนี้ถือว่ามีความแตกต่างเด่นๆเรื่องของวัสดุการใช้งานฝาหลังที่มีสีขาวสว่างเรียบๆพร้อมกับโลโก้  Chromebook และยังคงใส่โลโก้ของตัวเอง ASUS ไว้ตรงกลางเช่นเเดิม รุ่นนี้ได้รับการออกแบบสามารถพับใช้งานได้ 360 องศา รองรับปากกาและหน้าจอระบบสัมผัสเองนั้นทำให้มันใช้งานได้อิสระมากขึ้นเมื่อทำงานร่วมกันทั้งหมด ทั้งปากกา  ระบบสัมผัส รวมถึงขนาดหน้าจอใหญ่ 15.6 นิ้วเพียงพอต่อการทำงานหลากหลายแบบ รวมถึงทางด้านความแข็งแรงตัวนี้รองรับมาตรฐาน MIL-STD810H หนัก 1.89 กก. ทำให้อาจจะไม่ได้เหมาะแก่การพกพาเท่าไรในการใช้งานถือเป็น Tablet ด้วยน้ำหนัก แต่ในการใช้งานตั้งโต๊ะทั่วไปก็รองรับได้ดี

ทางด้านการออกแบบถือว่าเรียบๆโมเดิร์นเล็กน้อย เราจะเห็นความคลีนๆสีขาวตัดกับสีดำข้างในได้ลงตัวและเมื่อมองข้างในเหมือนจะมีกรอบสีขาวล้อมรอบตัวแป้นพิมพ์ด้วยเช่นกัน ส่วนตัวค่อนข้างชอบงานออกแบบตัวนี้ และเรื่องของวัสดุเองนั้นรักษาได้ง่ายและทำความสะอาดได้ง่ายกว่าที่คิดไว้เยอะพอสมควร แต่เรื่องน้ำหนักแอบหนักกว่าที่คิดไว้เยอะเหมือนกันในการพกพาต่างๆ ส่วนงานประกอบข้อพับอะไรแข็งแรงแม้วัสดุจะเป็นพลาสติกทั้งหมดก็ตามในส่วนของบอดี้ตัวนี้ครับและเราจะเห็นโลโก้ Chromebook มุมซ้ายและสัญลักษณ์ Chrome ที่เราคุ้นเคยกันดี รวมถึงโลโก้ ASUS ตรงกลางแบบเงาๆสวยงาม ตัดกับสีขาวได้เป็นอย่างดีเลยแหละ ส่วนข้างในก็สีดำล้วนๆเลยนั้นเอง

ส่วนแง่ของการออกแบบตัวนี้สามารถใช้งานได้อิสระ 4 แบบ การใช้งาน เป็นเหมือน Tablet ที่สามารถพับได้พกพาได้ง่าย วาดรูปเขียนแบบได้ง่ายๆ หรือจะเป็นแบบทั่วไป Laptop โหมด แบบปกติที่ใช้ๆงานกัน หรือจะเป็นคล้ายๆ Tent Mode สำหรับวางเพื่อที่จะนำเสนองานหรือ วางโชว์รูปภาพ พรีเซนต์ต่างๆครับ และ อีกแบบก็จะเป็นการเอาวางฐานหน้าจอ ใช้งานสำหรับดูหนัง หรือจะเป็นตั้งวางแต่มีความมั่นคงที่ดีขึ้น และแน่นอนว่าใช้งานปากกาได้ทำให้มันใช้งานได้หลากหลายกว่าที่คิดไว้เยอะเลยแหละ ส่วนเรื่องน้ำหนักก็กลางๆเมื่อเทียบกับขนาดจอแบบนี้

ด้านในเองนั้นแน่นอนว่าอาจจะไม่ได้รองรับการแกะแงะหรือว่าอัปเกรดอะไรเพิ่มเติมเพราะว่ารุ่นนี้สเปกจะเน้นใช้งานทั่วไปมากกว่า ทำให้ RAM เป็นการฝังบอร์ดและไม่รองรับการเปลี่ยนอะไรเพิ่มเติม รวมถึงข้างในจะเห็นว่าบอร์ดเองนั้นเล็กมากๆเมื่อเทียบกับตัวเครื่องอยู่แค่มุมเครื่องเท่านั้น และที่เหลือจะเป็นแบตต่างๆ และ SSD ในมุมซ้ายของภาพมีการคลุมอะไรมาให้เรียบร้อยครับ ส่วนพัดลมเองนั้นจะมีแค่ฝั่งเดียวและ Heatpipe เส้นเดียวเท่านั้นแน่นอนว่ารุ่นพวกนี้ไม่ได้เน้นสเปกอะไรมากเช่นกัน ซึ่งบางรุ่นจะไม่มีพัดลมอะไรเลยในบางแบรนด์ แต่รุ่นนี้ยังคงใส่เข้ามาให้ และระบายออกทางด้านหลังฝั่งเดียวครับ ในการใช้งานจริงก็ไม่มีปัญหาในเรื่องความร้อนอะไรสามารถรองรับได้สบายๆ

ตัวข้อพับนั้นจะเป็นสีเงินโครเมี่ยมสวยงาม และยังมีความแข็งแรงในตัวรองรับการหมุนใช้งาน 360 องศา และตัวนี้มาพร้อมกับการออกแบบ Ergo Lift เมื่อใช้งานจะยกตัวเครื่องขึ้นมาด้วยเช่นกัน และเราจะเห็นช่องระบายความร้อนทั้งแนวยิงออกมาข้างหลัง แต่รุ่นนี้เท่าที่แกะฝาฐานเองนั้นจะออกแค่มุมครึ่งนึงเท่านั้นครับ และก็ไม่ได้ร้อนมากเท่าไร

ส่วนด้านในจะเป็นวัสดุสีดำด้านแต่ก็รักษาได้ง่ายสามารถเช็ดทำความสะอาดได้ง่ายด้วยเช่นกัน และมีขอบขาวตัดกันสวยงาม แต่ปากกาที่เราเห็นเองนั้นจะเป็นการติดที่เก็บออกมาแยกนะครับ เพราะว่าจะเป็นแม่เหล็กพร้อมปลอกใส่จะไม่ได้แม่เหล็กมาในตัวอันนี้แอบเสียดาย ส่วนหน้าจอเอง 15.6 นิ้วขอบบาง Nanoedge สวยงามและกล้องหน้ายังคงใส่เข้ามาให้พร้อมกับไมค์ ส่วนขอบล่างเองจะหนากว่าเล็กน้อยพร้อมกับโลโก้ ASUS และ รองรับการสัมผัสใช้งาน

SPEC 

  • Chrome OS
  • Intel® Core™ i3-1115G4 Processor 3.0 GHz (6M Cache, up to 4.1 GHz, 2 cores)
  • Intel® UHD Graphics
  • Touch screen,15.6-inch,LCD,FHD (1920 x 1080) 16:9,Wide view,Glossy display,LED Backlit,250nits,NTSC: 45%,Screen-to-body ratio 81 %,With stylus support
  • RAM 8GB LPDDR4X on board
  • STORAGE 256GB M.2 NVMe™ PCIe® 3.0 SSD
  • พอร์ตเชื่อมต่อ 1x USB 3.2 Gen 2 Type-A / 2x USB 3.2 Gen 2 Type-C support display / power delivery / 1x HDMI 2.0a / Micro SD card reader
  • Built-in array microphone ระบบเสียงจาก harman/kardon (Premium)
  • แบต 57WHrs, 3S1P, 3-cell Li-ion
  • TYPE-C, 45W AC Adapter
  • น้ำหนัก 1.95 kg
  • สีตัวเครื่อง Immersive White

PERFORMANCE 

ประสิทธิภาพตัวนี้จริงๆจะมีหลากหลายสเปกในตระกูล Gen11 ของทาง intel® Core™ เจนเนอเรชันที่11 รุ่นล่าสุด ทั้ง i3 i5 i7 ซึ่งรุ่นที่เราจะมารีวิวจะเป็นรุ่นเริ่มต้น  i3-1115G4 Processor 3.0 GHz (6M Cache, up to 4.1 GHz, 2 cores 4 threads) ใช้งานการ์ดจอในตัว Intel® UHD Graphics และ หน่วยความจำ RAM 8GB 4266 MHz LPDDR4X on board,Memory ไม่รองรับการอัปเกรดนะครับ พร้อมกับ 256 GB PCIe 3.0 NVMe M.2 SSD และ มาพร้อมกับระบบ Chrome OS ที่รองรับการทำงานอิสระ ปลอดภัย และ เรียบง่ายเช่นเดิม

GEEKBENCH จริงๆด้วยตัวระบบมันไม่ใช่ Windows แบบที่คุ้นเคย ในเรื่องของการทำงานการทดสอบเองนั้นจะแตกต่างกว่ารุ่นอื่นๆครับ จะไปคล้ายๆกับ Android นั้นเองเลยขอลองทดสอบผ่านแอป Geekbench เล็กน้อยครับ จะเห็นว่ามัน Based บน Andriod 9.0 บน Kernal Linux 5.4 ทำเรื่องของคะแนนไปได้ 1213 / 2867 คะแนน

CRXPRT 2 เป็นการทดสอบผ่านระบบ Browser นั้นเองเพราะว่าตัวระบบ Chrome เองนั้นจะเป็นพื้นฐานคล้ายๆแบบนั้นจึงจะทดสอบคะแนนด้วยโปรแกรมนี้กันเยอะ ซึ่งทำได้ 151 เรียกได้ว่าตามระดับของมันไม่ได้สูงโหดอะไรมากแต่ก็เพียงพอต่อการใช้งานทั่วไป ทำงาน ประชุม เข้าแอปอะไรหลากหลายแอปรวมถึง การวาดรูปเล่นเกมทั้งหลาย

WEBXPRT3 อีกโปรแกรมนึงจะเป็นทดสอบคะแนนภาพรวมการใช้งานได้ 252 คะแนนครับทดสอบการดูรูป แต่งภาพ ดูข้อมูลคล้ายๆกับการใช้งานจริงกว่าทำคะแนนส่วนไหนได้เท่าไรคล้ายๆกับ PC Mark นั้นเองคะแนนถือว่าทำได้ดีเลยนะตัวนี้ ทำงานทั่วไปได้สบายๆ และเรื่องแบตทดสอบมาก็อึดเอาเรื่องจากการใช้ระบบ Chrome OS ที่จัดการแบตได้ดีกว่าระบบ Windows ชัดเจนเท่าที่ทดสอบมาครับ ส่วน SSD นั้นใช้ Androbench ทดสอบอ่านไปได้ 1077 MB/S และเขียน 664 MB/S ถือว่ากลางๆอาจจะไม่ได้ไวมาก แต่ก็ดีกว่าบรรดา HDD ทั่วไปเยอะมากครับ

CHROME OS

ระบบ Chrome OS จากทาง Google แน่นอนว่ามีความโดดเด่นหลากหลายอย่างที่สำคัญทำง่านร่วมกับบรรดา Google Device และ การสั่งงานระบบ SmartHome ได้ง่ายมากๆ แค่ Hey Google ก็รองรับได้สบายๆเลยทีเดียวรวมถึงบรรดา แอปต่างๆก็สามารถโหลดใช้งานได้จาก Play Storeที่เราคุ้นเคยได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียวครับ ซึ่งตัวระบบเองจะ อัปเดตตัวเองตลอด และมาพร้อมกับระบบความปลอดภัยขั้นสูงมากๆ Built-in virus protection ไม่ต้องไปโหลดตัวอื่นๆ รวมถึง Security Sandbox ที่ไม่ใช่ ปราสาททราย แต่เป็นระบบ เก็บซอฟต์แวร์บนChromebook ที่จะแยกกับตัวเครื่องชัดเจนทำให้ถ้ามีไวรัส จะไม่มีทางกระทบกับไฟล์ หรือ ระบบในเครื่อง และ มาพร้อม Titan C SecurityChip ในตัว และสามารถสร้าง ID ที่แยกการใช้งานแบบ 100% ในเครื่องเดียว

Google Assistant เป็นจุดที่แอดใช้งานบ่อยมากๆในการสั่ง เปิดไฟ เปิดเครื่องกรองอากาศ สั่งงาน Smart Device ทั้งหลายในบ้าน หรือ แม้แต่ในบรรดา ทีวีที่รองรับผ่านตัวคอมพิวเตอร์ทั้งหมดเลยครับ แน่นอนว่าทำงานร่วมกันได้แบบไหลลื่นอย่างมาก จุดนี้เป็นจุดที่เด่นจริงๆครับ และ ระบบมีความลื่นไหล และสเถียรมากๆในการใช้งานทั้งหมด และ บูทเครื่องทำงานอะไรได้ไว รวมถึงการรองรับสัมผัสทำให้ใช้งานได้ง่ายในหน้าตาต่างๆ รวมถึงการควบคุม Quick Setting ทั้งหลาย คล้ายกับการใช้งานบนมือถือ ทั้งปรับความสว่างหน้าจอ หรือ ระบบเสียงและการเปิดปิดฟีเจอร์ทั้งหมดในตัว คอมพิวเตอร์เช่นกัน และ ทำงานบนระบบ Cloud ได้สบายในการใช้งานแอปต่างๆครับ

และถ้าหากใครใช้งานมือถือ Android เองนั้นจะรองรับการเชื่อมต่อที่สามารถสั่ง ปิดเสียง สั่งค้นหามือถือ หรือว่าสั่งเปิดปิด Hotspot ได้ อีกทั้งยังรองรับการใช้งานรับการแจ้งเตือนจากมือถือมาบนคอมพิวเตอร์ได้ด้วย อันนี้เจ๋งมากครับ แต่ระบบถ้ามองในแง่ของความอิสระ จริงๆการทำงานร่วมกันน่าจะได้ Mirror Screen หรือ ดึงข้อมูลอะไรได้ง่ายกว่านี้ เหมือนของ Huawei – Mac พวกนั้นครับ ซึ่งในอนาคตน่าจะมีการรองรับที่ดีมากกว่านี้ ส่วนทางด้านการเล่นเกมในไทย GefoceNow ยังคงไม่รองรับในไทย แต่ถ้ารองรับจะทำให้เราเล่นเกม Stream ผ่านระบบ Cloud ได้ง่ายๆเลยทีเดียวครับ ซึ่งต้องรอการอัปเดตอะไรกันต่อไป แต่แอปใน Playsotre เองก็มีหลากหลายอยู่แล้วนะ

SCREEN

หน้าจอนั้นมาพร้อมกับหน้าจอที่รองรับการสัมผัส รวมถึงการใช้งานกับปากกาในขนาดหน้าจอ 15.6 นิ้วพร้อมกับขอบหน้าจอแบบ Naonoedge ขอบบางทั้ง 3 ด้าน ซึ่งจะเป็นหน้าจอแบบเงาที่ใช้งานสเปก ความละเอียด FHD (1920 x 1080) อัตราส่วนแบบ 16:9 รองรับมุมมอง 178 องศา Wide view รองรับความสว่างสูงสุด 250nits ค่าสี NTSC: 45%, รวมถึงอัตราส่วนต่อตัวเครื่อง 81 % ถือว่าเป็นหน้าจอที่รองรับการ วาด การใช้งานสัมผัสถือว่าดีกับรูปทรง งานออกแบบ รวมถึงระบบตัวนี้เพราะว่าออกแบบมาใช้งานหน้าจอสัมผัสเป็นหลัก แต่ในแง่ของการสู้แสงหน้าจอเองนั้นไม่ได้ดีเท่าไรนัก ทำให้กลางแจ้งหรือแสงอะไรอาจจะไม่ได้เด่นเท่าไร รวมถึงหน้าจอสีสันค่าสีก็กลางๆทั่วไป

มุมมองนั้นไม่มีปัญหาเพราะว่าหน้าจอแบบ IPS เองนั้นรองรับมุมมองได้กว้างอยู่แล้วเช่นกันแต่ถ้ามองในแง่ของความสว่างสู้แสงในหลายๆสภาพแสงเองนั้นกลับไม่ค่อยเด่นตามสเปก 250Nits ถือว่าค่อนข้างต่ำพอสมควร แต่ถ้าใช้งานที่บ้าน ในห้องต่างๆนั้นไม่ได้มีปัญหาเลยครับ แต่ถ้าเริ่มไปข้างนอกตามร้านกาแฟต่างๆที่เราไม่สามารถคุมแสงเองได้อาจจะลำบากเล็กน้อย ส่วนเรื่องของการสัมผัสเองไม่ได้มีปัญหาอะไรรองรับทั้งนิ้ว และ ปากกาได้เช่นกันครับ

ASUS STYLUS

ปากการุ่นนี้มีการแถมมาให้ในกล่องแต่จะเป็นปากกาแบบใหม่ รองรับมาตรฐาน USI 1.0 ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุด และ รองรับแรงกด 4096 ระดับ พร้อมกับดีไซน์ขนาดใหญ่และหรูหรา รวมถึง อายุแบตใช้งานได้ 300 วันเลยทีเดียวครับ ใช้งานถ่านแบบ AAAA แน่นอนว่าใช้งานได้เกือบปีเลยทีเดียว ส่วนการใช้งานจริงนั้นมีฟีเจอร์รองรับได้สบายๆ เราสามารถใช้งานในการจับภาพหน้าจอ สร้างโน้ตต่างๆ หรือว่าใช้งานเป็น ตัวชี้เลเซอร์ต่างๆ รวมถึงการขยายหน้าจอต่างๆ ถือว่าใช้งานได้หลากหลายในตัวปากกานี้ รวมถึงการวาดใช้งานต่างๆยังคงทำได้ดีเช่นเดิมครับ

ตัวปากกาเองนั้นมีขนาดใหญ่คล้ายๆกับรุ่นก่อน แต่จะไม่ได้มีปุ่มบนตัวปากกามาให้แล้วและดีไซน์เรียบร้อยสวยงามมากขึ้นพร้อมกับส่วนเงินด้านบน รวมถึงตัวเก็บปากกาที่แยกมาต่างหาก ส่วนการจับถือใช้งานจริงนั้นไม่มีปัญหาถือว่าถือสะดวกพอสมควร และจับได้กำลังดีแต่สำหรับบางคนอาจจะใหญ่ไปเล็กน้อยและเรื่องที่เก็บยังทำได้ไม่ดีเท่าไรนัก ในตัวแม่เหล็กในการพกพาจริงๆเสี่ยงต่อการหล่นได้ง่ายเช่นกัน รวมถึงอาจจะเกะกะไปเล็กน้อยที่ไม่มีที่เก็บในตัว  ในการวาดจริงๆนั้น ถ้าใช้งานการจดอะไรนั้นไม่มีปัญหา แต่การวาดต่างๆนั้นอาจจะหน่วงเล็กน้อยเช่นกันในตัวนี้ครับ

KEYBOARD

แป้นพิมพ์นั้นมาพร้อมกับขนาดที่เราคุ้นเคยแน่นอนว่าพวกหน้าจอ 15.6 นิ้วก็จะมี Numpad ครับ ส่วนการวางปุ่มอะไรนั้นเป็นมาตรฐานของค่ายนี้ เหมาะกับการใช้งานอย่างมาก พร้อมกับไฟบนแป้นพิมพ์มาให้ปกติ และระยะปุ่มอะไรที่ดีขึ้นรวมถึงตัวอักษร และการเว้นของแต่ละโซนอะไรนั้นคุ้นเคยกันแน่นอน ระยะปุ่มกดนั้นมีระยะ 1.4 มม.กำลังดีกับการใช้งานการพิมพ์เขียนทั่วไปได้ด้วย ออกแบบมาแม้จะเป็นรุ่นที่พับหน้าจอได้ 360 องศาก็ตามแต่ระยะการกดหรือการออกแบบการวางปุ่มนั้นเหมือนรุ่นปกติทั้งหมด ส่วนที่แตกต่างกับคอมพิวเตอร์ทั่วไปนั้นเราจะไม่เห็นปุ่ม F1-F12 เลยก็ตาม และปุ่ม Capslock กลายเป็นปุ่มเข้าสู่แอปต่างๆแทนนั้นเอง และปุ่ม F1-F12 เองนั้นเป็นปุ่มการใช้งานทั้งย้อนหลับ รีเฟรช การแคปหน้าจอ หรือว่าจะเป็นการเข้า Recent App ต่างๆ ซึ่งจะแตกต่างกับคอมพิวเตอร์ที่เราคุ้นเคยกันครับ แต่ปุ่มอื่นๆเองนั้นเหมือนกันทั้งหมด และปุ่มเปิด/ปิดเครื่องจะอยู่ในด้านขอบตัวเครื่องทั้งหมด

ตัวปุ่มนั้นกดได้ง่ายและความรู้สึกดีกว่ารุ่นเดิมแม้จะเป็นFLIPเพราะการออกแบบมีการปรับเปลี่ยนให้ดีขึ้น แต่ระยะอะไรนั้นไม่ได้แตกต่างกับของเดิมเท่าไรครับแต่ทรงปุ่ม ระยะเว้นต่างๆนั้นทำได้ดีขึ้น ส่วนเรื่องการยกตัวเครื่องรุ่นนี้ใส่เข้ามาให้เช่นเดิมพิมพ์อะไรถนัดมากขึ้นในตัวที่เรารีวิวนั้นเป็นสีดำเลย ทำให้มันค่อนข้างเห็นได้ชัดพอสมควรเลย และใช้งานได้ดีทั้งกลางวันกลางคืนถือว่าออกแบบดี และ ตัวหนักสือสีขาวตัดกันได้ลงตัว รวมถึงมีแสงไฟมาให้ครบเช่นกัน

TOUCHPAD

ตัวทัชมีขนาดใหญ่มากๆ และใช้งานได้ดีเมื่อเทียบกับขนาดตัวเครื่อง 15.6 นิ้ว ขอบตัดสี่เหลี่ยมและเต็มอัตราส่วนกับตัวเครื่องได้ดีกว่าเดิมนิดหน่อย ตัวทัชเป็นวัสดุแบบเดียวกับตัวเครื่อง วัสดุมีการทำให้ลื่นและติดนิ้วมากกว่าในการสัมผัสต่างๆ ตัวทัชสามารถกดลงไปได้เลยขอบซ้ายขวาล่าง ซึ่งจากที่ใช้งานไม่ได้ติดปัญหาอะไรครับในส่วนนี้ ตัวระบบทัชนั้นใช้ Software ของ Precision นะรองรับการใช้งานหลายๆนิ้วได้สบาย และรองรับการใช้งาน 4 นิ้ววางได้กำลังดีไม่ได้เล็กเกินไป สามารถวางนิ้วได้ทั้ง 5 สบายๆและเนียนไปกับตัวเครื่อง แม้มีหน้าจอสัมผัสอยู่แล้วก็ตาม

SPEAKER 

ลำโพงคู่ ใช้งานของ Harman/Kardon เช่นเดิมเลยนั้นเองเสียงที่ได้ต้องผ่านมาตรฐานของแบรนด์ว่าสมควรที่จะแปะชื่อลงไปด้วยนั้นเอง เสียงตัวนี้มาพร้อมกับลำโพงหลักๆ 2 ตัวซ้ายขวายิงลงพื้นที่มุมเครื่องทั้ง 2 เสียงที่ได้นั้นดังมากๆสามารถขับเสียงได้ดังเอาเรื่องเมื่อเทียบกับขนาดของมัน รวมถึง มิติเสียง เบสพวกนี้นุ่มและมาดีเลยทีเดียวครับ คุณภาพเสียงมาดีขึ้นเยอะ และสามารถส่งเสียงแยกซ้ายขวาได้ดี เสียงเพลงฟังสบายครับ รวมถึงการดูหนังต่างๆนั้นเสียง Effect  ก็รู้สึกถึงความแน่นขึ้นกว่ารุ่นก่อนหน้าอื่นๆแบบรู้สึกได้เลยแหละก็ถือว่าเข้าถึงทุกระดับแล้วสำหรับแบรนด์เครื่องเสียงนี้สบายๆครับ สามารถดู Netflix อะไรได้แบบสบายๆ รวมถึงเวลาพับก็ยังส่งเสียงออกมาได้ชัด

CONNECTOR

พอร์ตเชื่อมต่อเองนั้นให้ค่อนข้างเพียงพอในการใช้งานแม้จะเป็นรุ่นพับได้และใช้งาน Chrome OS ก็ตามทางด้านซ้ายเองนั้นจะมาพร้อมกับ USB-C ที่รองรับ USB 3.2 Gen 2 Type-C รองรับใช้งาน power delivery และ มาพร้อม USB 3.2 Gen 2 Type-A และ รู 3.5. มม. พร้อมกับ ปุ่ม เพิ่ม-ลดเสียง และ ปุ่ม Power เปิดปิด พร้อมกับไฟสถานะ และเราจะเห็นการปาดขอบลำโพงเล็กน้อยเพื่อให้เสียงยิงออกมาได้ง่ายขึ้นในส่วนด้านหน้าเครื่องครับ

ส่วนด้านขวาจะมาพร้อมกับ ช่องเสียบ Micro-SD พร้อมกับ HDMI 2.0 และ USB 3.2 Gen 2 Type-C ซึ่งรองรับ การชาร์จไฟ PD เช่นกันเหมือนกันทั้ง 2 ฝั่ง ถือว่ายังใจดีใส่เข้ามาให้ครบๆเช่นเดิม ส่วนการเชื่อมต่อกับปากกานั้นสามารถใช้งานได้เลย แต่การเสียบที่เก็บเองนั้นจะแตะกับทาง Micro-SD จะเป็นส่วนแม่เหล็กทั้งหมด และการเชื่อมต่อไร้สายนั้นจะมาพร้อมกับ Dual-band 2×2 WiFi 6 (802.11ax)และ  Bluetooth® 5.0

WORKING

การทำงานตัวนี้เด่นๆจะเน้นเรื่องของการทำงานร่วมกับ Google ทั้งหลากหลายไม่ว่าจะเป็น Docs หรือว่า การประชุมต่างๆนั้นตอบโจทย์แน่นอน และ ตอบโจทย์ต่อการเรียนการสอนได้มากกว่าเดิมเช่นกันครับ ทางด้านระบบนั้นจะเน้นเรื่องของการรักษาความปลอดภัยได้เป็นอย่างดี เนื่องจากเป็นระบบ Cloud based แน่นอนว่าทำให้การเข้าถึงแอปการตั้งค่าต่างๆ จากอุปกรณ์เครื่องใดก็ได้ไม่ต้องยึดติด และ ยังรับการทำงานร่วมกับ Google Workspace for Education ได้สบายๆ รวมถึง สามารถแชร์แอปใหม่ๆกับ นักเรียนต่างได้ผ่าน Chrombook App Hub ซึ่งทำให้ง่ายต่อการจัดการได้สบายๆสำหรับคนสอน ต่างๆในการจัดการแบบเยอะๆซึ่งระบบแบบนี้ หาได้ยากในระบบตัวอื่นๆครับ รวมถึงการแชร์แพลตฟอร์ม คอนโซลของผู้ดูแลเข้าถึงได้ทุกที่ และยังรองรับโหมดการทดสอบหรือสอบทำให้ไม่สามารถเข้าเว็บอื่นๆได้ขณะเข้าโหมดนี้ ช่วยในการสอบได้ดี และ การอัปเดตระบบประจำไม่ต้องมานั่งรอกดเองรวมถึง การควบคุมดูแลรักษาในทุกๆเครื่องนั้นต่ำมากๆ ในเรื่องของระบบ และ การอัปเดตจัดการได้ง่ายมากๆ

แต่ถ้าถามว่าในการใช้งานทั่วไปไม่ได้เรื่องเรียงจริงๆก็รองรับแอปที่เราใช้งานกันในมือถือได้ทั้งหมด ทางด้าน Google ให้มาครบอยู่แล้วครับทั้ง Docs , Drive , Gmail , Sheet , Slide ครบพร้อมใช้งานผ่านระบบในตัว รวมถึงแอปอื่นๆก็สามารถโหลดใช้งานกันได้แม้จะเป็นของ Microsoft ต่างๆ รวมถึง Adobe ก็สามารถใช้งานได้ทั้งหมดเช่น Lightroom ก็ดึงหน้าตาแบบมือถือมาทั้งหมด หรือจะเป็นแอป ที่จะรองรับเช่น  Photoshop Mix , Lightroom Mobile , Illustrator Draw , Photoshop Sketch , Adobe Comp CC เป็นต้นรองรับได้สบาย

GAMING 

การเล่นเกมอาจจะไม่ได้เป็นหลักสำหรับบรรดา Chromebook พวกนี้เพราะว่าตัวระบบหรือว่าเป้าหมายตัวเครื่องเองนั้นจะไม่ได้ยัดสเปกโหดๆที่รองรับอะไรได้มากเพราะว่าด้วยระบบเองจะเน้นไปทางการใช้งาน โปรแกรมเรียน หรือว่าการควบคุม ป้องกันที่เด่นๆมากกว่า แต่การเล่นเกมเองนั้นก็พอไหวในบางแอปที่โหลดใช้งานได้ผ่านทาง Google Play Store ซึ่งบางแอปก็รองรับกับคีย์บอร์ดได้ ASPHALT 9 หรือ เล่นผ่านหน้าจอสัมผัสได้เช่น PUBG นั้นเองก็ถือว่าพอเล่นได้ในหลายๆเกมที่ไม่ได้กินกราฟิกอะไรมากนัก รวมถึงพวก Amongus สบายๆในการเล่นผ่านหน้าจอ และ ถ้าระบบ Geforce NOW เข้ามาในไทยก็สามารถเล่นเกมบรรดา Steam ต่างๆได้ง่ายขึ้นผ่าน Cloud นั้นเอง

ASUS CHROMEBOOK FLIP CX5 

” ระบบที่ ใช้งานได้ง่าย อัปเดตตลอดเวลา ความปลอดภัยสูง เหมาะกับการเรียนการสอน “

Chrome OS ถือว่าเป็นระบบที่เน้นการอัปเกรด เน้นเรื่องความปลอดภัย และใช้งานได้ง่านรวมถึงความหลากหลายของผู้ใช้งานได้ดี และแน่นอนว่ารองรับกับระบบสัมผัสได้ดีเช่นกับทั้งหน้าตา UI UX ทั้งหลาย แต่ก็พัฒนามาใช้งานแบบแป้นพิมพ์อะไรได้ด้วย ซึ่งช่วงที่เรียนออนไลน์ หรือทำการเรียนการสอนช่วงนี้น่าจะเหมาะกับระบบแนวๆนี้เช่นกันซึ่งตัวระบบ Software ทำออกมาได้ดี ลื่นไหล ใช้งานได้ง่าย และตัว Hardware เองก็ไว้ใจได้จากทางASUS ที่ทำในตระกูล Flip ออกมาได้ดีทั้งการพับหน้าจอ ปากกา ลำโพงการใช้งานร่วมกันเลยทำออกมาได้น่าประทับใจมากๆ และ ด้วยระบบของมันน่าจะตอบโจทย์ช่วงนี้ได้ดีมากจริงๆครับ อีกทั้งสเปกที่ให้มาก็เหลือๆในการใช้งานแนวๆนี้เช่นกันแต่เรื่องการพกพา หรือน้ำหนักการถือแบบ Tablet อาจจะหนักไปเหมือนกันแต่ก็พอเข้าใจได้ตามขนาดของตัวเครื่อง

ข้อดี

  • งานออกแบบเรียบสวย และ คุณภาพความแข็งแรงทำได้ดี
  • ผ่านมาตรฐาน MIL-STD810G การทดสอบแข็งแรงสบาย
  • ประสิทธิภาพ i3 Gen11 ทำได้ดีรองรับการทำงานได้หลากหลาย
  • คีย์บอร์ด ปากกา รองรับทำงานได้ดี ลื่นไหล และ สัมผัสดี
  • ลำโพง Harman/Kardon ระบบเสียงดี
  • ระบบ Chrome OS ใช้งานได้ง่าย ไม่ยุ่งยาก และ สเถียร
  • ระบบเน้นความปลอดภัย , ความนิ่ง และ รีบูทได้ไว
  • ทำงานร่วมกับระบบ Google อื่นๆได้ ทั้ง การเรียนรู้ และ ทำงาน ประชุม
  • สามารถโหลดแอปจาก Google Play ได้
  • แบตทำได้อึด ใช้งานทั้งวันสบายๆ
  • มาพร้อมประกัน 3 ปี On Site และ ทั่วโลก พร้อม อุบัติเหตุ 1 ปี

ข้อสังเกต

  • หน้าจอไม่สู้แสงเท่าไรนัก
  • ตัวเครื่องแอบหนักถ้าพกพาใช้แบบ Tablet
  • ระบบ Chrome OS ยังต้องใช้งาน Internet เป็นหลัก และ แอปจะไม่เหมือนกับ Windows

สำหรับรีวิวนี้ผมก็ต้องขอตัวลาไปก่อนสำหรับรุ่นอื่นๆก็ติดตามกันได้เลย ถูกใจฝากกดไลค์กดแชร์ด้วยนะครับ  มีข้อผิดพลาดประการใด ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ  เพื่อนๆสนใจอยากให้พวกผมรีวิวรุ่นไหนสามารถ Inbox มาบอกเราได้เลยนะ
ฝากไลค์เพจ FACEBOOK เราด้วยนะครับ >>>>>>>>>  TECHHANGOUT

เข้าร่วมกลุ่ม TECHHANGOUT พูดคุยแลกเปลี่ยน ข้อมูล คุยกันเองชิลๆได้เลยที่ — Facebook  Techhangout พูดคุย Smartphone gadget 

Review By Nineztr